เป็นวัดที่มีเจดีย์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันยอดเจดีย์ได้หักพังลงมาเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2088 วัดเจดีย์หลวงเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด
ที่ตั้ง ริม ถ.พระปกเกล้า ใน หมู่ที่ 4 บ้านท่าใน ตำบลควนทอง อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่
เจดีย์หลวง สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1931-1954)เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พญากือนา พระราชบิดา แต่ยังสร้างไม่เสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระมเหสีได้ควบคุมการก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ ในสมัยพญาสามฝั่งแกนเรียกกันว่า“กู่หลวง” แรกสร้างเป็นเพียงเจดีย์องค์เล็กๆ ทรงสี่เหลี่ยม ฐานกว้าง 14 ม. สูง 24ม.
ต่อมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย(พ.ศ.1985-2030) โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคดเป็นนายช่างใหญ่สร้างเสริมพระเจดีย์ใหม่ เริ่มงานตั้งแต่ พ.ศ.2020 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2024 โดยขยายฐานให้กว้างออกถึง 56 ม. สูง 95 ม. สามารถมองเห็นได้แต่ไกล แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่มุขด้านตะวันออกขององค์เจดีย์เป็นเวลานานถึง 80 (พ.ศ.2011-2091)
สมัยพระมหาเทวีจิระประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย(พ.ศ.2088-2089)ในปี พ.ศ.2088 เกิดภัยธรรมชาติฝนตกหนักและเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เป็นเหตุให้ส่วนยอดหักพังลงเหลือเพียงครึ่งองค์ เกิดรอยร้าวทั่วองค์พระเจดีย์สุดที่จะแก้ไข จึงถูกทิ้งร้างมานานถึง 445 พ.ศ.2533 กรมศิลปากรจึงได้ทำการบูรณะจนเป็นดังเช่นปัจจุบัน
เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง ตั้งอยู่กึ่งกลางวิหารจัตุรมุข ศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อสอปูนติดกระจกสี่ รอบเสาวัดได้ 5.67 ม. สูง 1.30 ม. แท่นพระบนเสาอินทขิลสูง 97 ม. รอบแท่นวัดได้ 3.4 ม. บนเสาอินทขิลมีพระพุทธรูปทองสำริด ปางรำพึง ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบก พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) นำมาถวายวัดเจดีย์หลวงเมื่อปี พ.ศ.2514 เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการะคู่กัน
0 comments:
แสดงความคิดเห็น